วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

การตัดต่อ

  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ
วีดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อการนำเสนอภาพเพียง 1นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า100MBซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลงซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)



Edit หมายถึงการแก้ไข ปรับเปลื่ยน หรือตัดต่อ แต่ความหมายลึกๆ ในศาสตร์ภาพยนตร์ คือd

E =   Elect        = เลือก Shot ที่ดีที่สุด
D =   Decision  = ตัดสินใจ อย่าเสียดาย Shot
 I  =    Integrate = นำ Shot มาร้อยเรียง เชื่อมโยง ผสมผสาน
T =   Terminate= ทำให้สิ้นสุดจบลงด้วยดี

การตัดต่อ  Editing
       คือการนำเสนอภาพหลายภาพมาประกอบกันให้เป็นเรื่องราวโดนการนำรายละเอียดของภาพและเหตุการณ์ที่สำคัญจากม้วนเทปที่ได้บันทึกไว้หลายๆม้วน มาทำการเลือกสรรภาพใหม่เพื่อเรียงลำดับให้ได้เนื้อหาตามบท ภาพแต่ละภาพที่นำมาลำดับไม่จำเป็นต้องสำคัญเท่ากันทุกภาพ ความสำคัญอาจจะลดหลั่นลงไปตามเนื้อหา ภาพบางภาพเป็นหัวใจของการเกิดของเหตุการณ์ แต่บางภาพอาจเป็นส่วนประกอบ 
      การตัดต่อภาพแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ชมถูกกระตุ้นความรู้สึกขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วความรู้สึกนั้นค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งมีการตัดภาพใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าความยาวของภาพพอเหมาะ อารมณ์ของผู้ชมจะถูกกระตุ้นจังหวะ ถ้าความยาวของภาพมากไป อารมณ์ของผู้ชมจะราบเรียบไม่ตื่นเต้น

การตัดต่อมี 4 วิธี 
     1.การเชื่อมภาพ (Combine) เป็นการนำภาพที่ถ่ายไว้ทั้งหมดมาเรียงลำดับ  โดยการเชื่อมภาพหรือ shot แต่ละ shot เข้าด้วยกันตามลำดับให้ถูกต้องตามบทโทรทัศน์  การเชื่อมภาพส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตนอกสถานที่ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ตัวเดียว  สำหรับงานที่ผลิตในสตูดิโอที่มีกล้องหลายตัว ส่วนใหญ่มักจะเชื่อมภาพระหว่างการถ่ายทำ แต่ก็มีบ้างที่มาเชื่อมหลังการถ่ายทำ
     2.การย่นย่อภาพ (Condense) เป็นการตัดต่อภาพเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารในเวลาที่จำกัด  เช่น  การตัดต่องานข่าว โฆษณา   การตัดต่อเพื่อย่นย่อภาพนี้ เนื้อหาของภาพจะต้องกระชับ และได้ใจความในเวลาที่จำกัด  ฉะนั้นผู้ตัดต่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมากในการย่นย่อภาพ  เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนที่สุดเพื่อเสนอต่อผู้ชม
     3.การแก้ไขภาพ (Correct) ป็นการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดในการผลิต  โดยการตัดภาพหรือเสียงที่ไม่ต้องการออกไป  หรือแทรกภาพใหม่และเสียงใหม่เข้าไปแทนที่ภาพและเสียงเดิมได้  นอกจากนั้นความผิดพลาดที่เกิดจากสีและระดับเสียงที่เกิดจากการถ่ายแต่ละครั้ง (Take) แต่ละวันไม่เท่ากัน หรือความไม่ต่อเนื่องของภาพ (Continuty) ทิศทางของภาพ (Directional) ไม่ถูกต้อง  การตัดต่อสามารถแก้ไขได้
     4.การสร้างภาพ (Build) เป็นการตัดต่อโดยใช้อุปกรณ์พิเศษของเครื่องตัดต่อ เช่น การทำภาพจาง (Fade) ภาพจางซ้อน (Dissolve) กวาดภาพ (Wipe) หรือเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าฉากนี้ได้เปลี่ยนเวลา เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนสถานการณ์แวดล้อม


โปรแกรมสำหรับตัดต่อเบื้องต้น ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ 



Credit : NTK MESISE 


โปรแกรมตัดต่อด้านเทคนิคพิเศษ ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ 


Credit : yod chandhiraj
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา 4.0 International.